แผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1
มาตรฐาน พ.๕.๑ ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยา สารเสพติดและความ
รุนแรง
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง หลีกหลบอันตราย จำนวน 1 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง เครื่องหมายจราจร เวลา 1 ชั่วโมง
สอนวันที่ ......... เดือน ...................... พ.ศ. 255...
…………………………………………………………………………………………………...
ผลการเรียนรู้ (ตัวชี้วัดที่ 4)
รู้และเข้าใจความหมายของรูปภาพเครื่องหมายจราจรรูปต่างๆ รวมไปถึงสัญญาณไฟจราจรบนท้องถนน สามารถวิเคราะห์สาเหตุของการใช้เครื่องหมายจราจรในสถานที่ต่างๆได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงการปฏิบัติตนเองตามเครื่องหมายจราจรซึ่งเปรียบเสมือนข้อบังคับตามกฎหมาย
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
1. ผู้เรียนควรมาความใฝ่เรียน ใฝ่รู้ในเนื้อหาที่ได้รับและมีความกระตือรือล้นที่จะเรียน
2. ผู้เรียนควรมีระเบียบ วินัยในตนเองทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
3. ผู้เรียนควรมีความซื่อสัตย์ สุจริตต่อหน้าที่การงานที่ตนเองได้รับมอบหมาย ทำด้วยตนเองและความตั้งใจ
4. ผู้เรียนควรมีจิตสาธารณะในการช่วยงานผู้อื่น โดยเฉพาะการทำงานที่เป็นงานกลุ่ม หรือการช่วยชี้แนะสิ่งที่ผู้อื่นไม่เข้าใจ
สมรรถนะของผู้เรียน
2. รู้และเข้าใจความสำคัญของเครื่องหมายจราจร
3. รู้และเข้าใจความหมายของเครื่องหมายจราจรต่างๆ
4. สามารถอธิบายความหมายของเครื่องหมายจราจรและการนำไปใช้ได้
5. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
สาระการเรียนรู้
เครื่องหมายจราจร
· ความสำคัญของเครื่องหมายจราจร
· ความหมายของเครื่องหมายจราจรและการนำไปใช้
สาระสำคัญ
เครื่องหมายจราจร
เป็นสัญลักษณ์ทางจราจรที่ ใช้ในการควบคุมการจราจร มักเป็นสัญญาณแสงหรือป้าย มักมีจุดประสงค์เพื่อกำหนดบังคับการเคลื่อนตัวของจราจร การจอด หรืออาจเป็นการเตือน หรือแนะนำทางจราจร เป็นอาทิ
ประเภทของเครื่องหมายจราจร
1. สัญญาณไฟจราจร
สัญญาณไฟจราจรโดยทั่วไปประกอบด้วยสัญญาณไฟสามสี ติดตั้งตามทางแยกต่างเพื่อควบคุมการจราจรตามทางแยก โดยทั้งสามสี ได้แก่ สีแดงให้รถหยุด สีเหลืองให้รถระวัง เตรียมหยุด และสีเขียวคือให้รถไปได้ สำหรับสัญญาณไฟจราจรพิเศษอาจมีสีเหลืองเพียงสีเดียวจะกระพริบอยู่ ใช้สำหรับทางแยกที่ไม่พลุกพล่านหมายถึง ให้ระมัดระวังว่ามีทางแยก และดูความเหมาะสมในการออกรถได้เอง หรือ สัญญาณไฟจราจรสำหรับการข้ามถนน หรือ สัญญาณไฟจราจรไว้สำหรับเปลี่ยนเลน เป็นต้น
2. ป้ายจราจร
ป้ายจราจรเป็นป้ายทางการควบคุมการจราจร แบ่งออกเป็นสามประเภท
· ป้ายบังคับ มักจะมีพื้นสีขาว ขอบสีแดง เป็นป้ายกำหนด ต้องทำตาม เช่น ห้ามเลี้ยวขวา
· ป้ายเตือน มักจะมีพื้นสีขาว ขอบสีดำ จะเป็นป้ายแจ้งเตือนว่ามีอะไรอยู่ข้างหน้า
· ป้ายแนะนำ เป็นป้ายที่แนะนำการเดินทางต่างๆ อาทิ ทางลัด ป้ายบอกระยะทาง เป็นต้น
สิ่งสำคัญของเครื่องหมายจราจร คือ ต้องมีความชัดเจนและสามารถเห็นได้ในระยะไกลแม้จะมีแสงสว่างน้อย
เครื่องหมายจราจร (ตัวอย่าง)
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. ครูอธิบายถึงความหมายและความสำคัญของเครื่องหมายจราจร
2. ครูจำแนกประเภทของเครื่องหมายจราจรให้นักเรียนฟัง
3. ครูยกตัวอย่างเครื่องหมายจราจรแล้วให้นักเรียนบอกความหมายของเครื่องหมายจราจรชนิดนั้นๆ
4. ครูแจกใบงานให้กับนักเรียนทดสอบความรู้เรื่อง เครื่องหมายจราจร คนละ 1 ใบ ซึ่งประกอบไปด้วย
· จงบอกความหมายของเครื่องหมายจราจรต่างๆ
· รูปภาพเครื่องหมายจราจรต่างๆ
สื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่อง เครื่องหมายจราจร
2. ใบงานความรู้ที่กำหนดให้นักเรียนคิด วิเคราะห์
3. รูปภาพเครื่องหมายจราจร
วิธีการวัดและประเมินผล
1. สังเกตจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
2. ประเมินจากความตั้งใจในการเรียนของนักเรียน
3. ประเมินความถูกต้องจากการทำใบงานที่ 1
4. ประเมินจากความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
5. ประเมินจากการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน